ระบบประสาทพาราซิมพาเทติกควบคุมการทำงานส่วนต่างๆ

ระบบประสาทอัตโนมัติ ซิมพาเทติกและพาราซิมพาเทติก
ระบบประสาทซิมพาเทติก (Sympathetic Nervous System-SNS) เป็นส่วนหนึ่งของระบบประสาทอัตโนมัติหรืออัตโนวัติ (Autonomic Nervous System-ANS) มีหน้าที่ควบคุมการทำงานของอวัยวะบางอย่าง ซึ่งทำงานอยู่นอกเหนืออำนาจจิตใจ มีศูนย์กลางอยู่ที่ไขสันหลังระดับอกและเอว โดยเซลล์ประสาทในระบบนี้จะมีขนาดสั้น เรามักรู้จักระบบประสาทซิมพาเทติกในแง่ของการทำงานเมื่อมีเหตุฉุกเฉิน เช่น ไฟไหม้ หรือกำลังจะมีอันตรายเกิดขึ้น ระบบจะสั่งให้สู้หรือหนี โดยเมื่อระบบถูกกระตุ้น มันจะสั่งให้ต่อมหมวกไตชั้นใน (Adrenal Medulla) หลั่งฮอร์โมนออกมาเพื่อไปกระตุ้นกล้ามเนื้อหรือต่อมเป้าหมายให้ทำงานตอบสนองต่อสิ่งที่มากระตุ้น

โดยทั่วไประบบประสาทซิมพาเทติกจะทำงานควบคู่ไปกับระบบประสาทพาราซิมพาเทติก เมื่อเปรียบเทียบกันแล้ว หากระบบประสาทซิมพาเทติกทำงานในเชิงของการต่อสู้หรือความตื่นตัว ระบบประสาทพาราซิมพาเทติกจะทำงานในเชิงของความผ่อนคลาย



ระบบประสาทพาราซิมพาเทติก (Parasympathetic Nervous System-PNS) เป็นส่วนหนึ่งของระบบประสาทอัตโนมัติหรืออัตโนวัติ (Autonomic Nervous System-ANS) มีหน้าที่ควบคุมการทำงานของอวัยวะบางอย่าง ซึ่งทำงานอยู่นอกเหนืออำนาจจิตใจเช่นเดียวกับระบบประสาทซิมพาเทติก

ระบบประสาทพาราซิมพาเทติกมีศูนย์กลางอยู่ที่เส้นประสาทสมองคู่ที่ 3, 7, 9, 10 (บริเวณเมดัลลา ออบลองกาตา) และไขสันหลังส่วนกระเบนเหน็บ (ก้นกบ) โดยจะทำงานควบคู่กับระบบประสาทซิมพาเทติก เพื่อให้ร่างกายกลับสู่ภาวะปกติหรือภาวะผ่อนคลาย (Rest and Digest)



ระบบประสาทซิมพาเทติกควบคุมการทำงานส่วนต่างๆ ดังนี้

ะบบประสาทพาราซิมพาเทติกควบคุมการทำงานส่วนต่างๆ ดังนี้

เปรียบเทียบการทำงานของระบบประสาทซิมพาเทติกกับพาราซิมพาเทติก

Sympathetic อวัยวะ
Parasympathetic

ม่านตาขยาย ตา ม่านตาหด
กระตุ้นให้หลั่งน้ำตาออกมามากกว่าปกติ ต่อมน้ำตา ควบคุมการหลั่งน้ำตาให้เป็นปกติ
ยับยั้งการหลั่งน้ำลาย ต่อมน้ำลาย กระตุ้นการหลั่งน้ำลาย
เพิ่มอัตราการเต้นและการบีบของหัวใจ หัวใจ ชะลออัตราการเต้นของหัวใจ
กระตุ้นให้ท่อลมฝอยขยายตัวคลายตัว ปอด กระตุ้นให้ท่อลมฝอยหดตัว
ยับยั้งการบีบตัวและการหลั่งน้ำย่อย
ของกระเพาะอาหาร กระเพาะอาหาร กระตุ้นการบีบตัวและการหลั่งน้ำย่อย
ของกระเพาะอาหาร
กระตุ้นให้ตับทำงานพื่อเพิ่มปริมาณกลูโคส
ในกระแสเลือด ตับ กระตุ้นการหลั่งน้ำดี
กระตุ้นให้ต่อมหมวกไตหลั่งอะดรีนาลิน
(Adrenalin หรือ Epinephine) ต่อมหมวกไต -
กระตุ้นให้กระเพาะปัสสาวะคลายตัว กระเพาะปัสสาวะ กระตุ้นให้กระเพาะปัสสาวะหดตัว

แหล่งรวบรวมข้อมูล https://line.me/R/ti/p/%40alertide-brain

โครงสร้างของเซลล์ประสาท

โครงสร้างของเซลล์ประสาท

ระบบประสาทรอบนอก
   
          ระบบประสาทเป็นระบบที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของมนุษย์ พื้นฐานสำคัญของระบบประสาทก็คือเซลล์ประสาท(Neuron) โดยในแต่ละเซลล์จะประกอบด้วยตัวเซลล์(cell boby) นิวเคลียส(Nucleus) ซึ่งจะเป็นตัวเก็บโครโมโซม(Chromosome) ยีน(Gene) และใยประสาท(Nerve Fiber)
 ระบบประสาทาประกอบไปด้วย 2 ส่วน คือ ระบบประสาทส่วนกลางและระบบประสาทส่วนปลาย

1.ระบบประสาทส่วนกลาง(Central Nervous system ) ประกอบด้วยสมองละไขสันหลัง

                 1.1 สมอง(Brain) องค์ประกอบของสมองมีดังนั้

                    1) สมองส่วนหน้า(Forebrian or Prosencephalon) แบ่งออกเป็น 3 ส่วน ดังนี้

                     - ทาลามัส (Thalamus) เป็นศูนย์กลางของการรับกระแสประสาทต่างๆ เพื่อส่งต่อไปยังเซรีบรัมในเขตของการเห็น(Visual Area) เป็นต้น

                    - ไฮโพทาลามัส(Hypothalamus) จะทำหน้าที่ควบคุมความสึกร้อนหนาว ความหิว ความกระหาย ความก้าวร้าว ความรู้สึกทางเพศ การย่อยอาหาร เป็นต้น

                    - เซรีรัม (Cerebrum) เป็นส่วนที่สำคัญที่สุดของสมอง ทำหน้าที่สั่งการปฏิบัติงานของกล้ามเนื้อ การบันทึกความจำ การหาเหตุผล ความคิดริเริ่ม ความหวัง เป็นที่เกิดแห่งการเรียนรู้

                   2) สมองส่วนกลาง (Midbain) อยู่ถัดจากสมองส่วนหน้า มีเส้นประสาทรับความรู้สึกจากตามายังสมอง ส่วนนี้ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางของการมองเห็น ทำหน้าที่เป็นสถานีถ่ายทอดสัญญาณหรือกระแสความรู้สึกเกี่ยวกับการมองเห็น

                   3) สมองส่วนหลัง (Hindbrain) แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ สมองน้อย(Cerebellum) ซึ่งอยู่ทางด้านบน และก้านสมอง (Medulla Oblongata)

                1.2 ไขสันหลัง (Spinal Cord) มีลักษณะเป็นลำยาวทอดอยู่ในช่องกระดูกสันหลังตลอดความยาวของลำตัว ไขสันหลังทำหน้าที่ส่งกระแสประสาทไปยังสมองและรับกระแสประสาทไปยังสมองและรับกระแสประสาทตอบสนองจากสมองเพื่อไปยังอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย นอกจากนี้ยังควบคุมปฏิกิริยาสนองฉับพลัน (Reflex Arc)คือ ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นอย่างทันทีทันใดโดยไม่ต้องรอให้สมองสั่งการ เช่น เมื่อบังเอิญมือไปถูกของร้อนจะรีบกระตุกมือกลับทันที เป็นต้น

2. ระบบประสาทส่วนปลาย (Autonomic Nervous System) ประกอบด้วยระบบประสาทและระบบประสาทอัตวัติ(Autonomic Nervous System) ซึ่งเป็นระบบประสาทที่มีความสำคัญในการควบคุมการทำงานของอวัยวะภายในร่างกาย ดังนั้นความผิดปกติของระบบประสาทอัตโนวัติจะทำให้เกิดโรคต่างๆขึ้นหลายแบบ ระบบประสาทชนิดนี้มีศูนย์กลางอยู่ภายในไขสันหลัง แกนสมอง และสมองส่วนไฮโพทาลามัสโดยจะทำงานเป็นอิสระอยู่นอกเหนือการควบคุมของอำนาจจิตใจ ระบบประสาทอัตโนวัติทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของอวัยวะภายในของร่างกายให้อยู่ในสภาพปกติ

แหล่งรวบร่วมข้อมูล https://line.me/R/ti/p/%40alertide-brain


ระบบประสาทรอบนอก

ระบบประสาทรอบนอก (Peripheral Nervous System หรือ PNS)
ทำหน้าที่รับและนำความรู้สึกเข้าสู่ระบบประสาทส่วนกลาง  ได้แก่  สมองและไขสันหลัง  จากนั้นนำกระแสประสาทสั่งการจากระบบประสาทส่วนกลางไปยังหน่วยปฏิบัติงาน  ซึ่งประกอบด้วยหน่วยรับความรู้สึกและอวัยวะรับสัมผัส  รวมทั้งเซลล์ประสาทและเส้นประสาทที่อยู่นอกระบบประสาทส่วนกลาง หรืออาจบอกได้ว่า ระบบประสาทรอบนอกทำหน้าที่เชื่อมต่อระหว่างระบบประสาทส่วนกลางหรือระบบประสาทกลางกับอวัยวะต่างๆเช่น แขน ขา เป็นต้น

ระบบประสาทรอบนอก (Peripheral Nervous System หรือ PNS)
ทำหน้าที่รับและนำความรู้สึกเข้าสู่ระบบประสาทส่วนกลาง  ได้แก่  สมองและไขสันหลัง  จากนั้นนำกระแสประสาทสั่งการจากระบบประสาทส่วนกลางไปยังหน่วยปฏิบัติงาน  ซึ่งประกอบด้วยหน่วยรับความรู้สึกและอวัยวะรับสัมผัส  รวมทั้งเซลล์ประสาทและเส้นประสาทที่อยู่นอกระบบประสาทส่วนกลาง หรืออาจบอกได้ว่า ระบบประสาทรอบนอกทำหน้าที่เชื่อมต่อระหว่างระบบประสาทส่วนกลางหรือระบบประสาทกลางกับอวัยวะต่างๆเช่น แขน ขา เป็นต้น

ระบบประสาทรอบนอกประกอบด้วย

เส้นประสาทสมอง(cranial nerve) : เป็นเส้นประสาทที่ออกมาจากสมองโดยตรง มีทั้งหมด 12 คู่

เส้นประสาทไขสันหลัง(spinal nerve) : เส้นประสาทที่ออกจากไขสันหลัง มีทั้งหมด 31 คู่ คือออกจากไขสันหลังทั้งซ้ายและขวา ตั้งแต่ระดับไขสันหลังส่วนลำคอไปจนถึงไขสันหลังส่วนกระดูกก้นกบ

เส้นประสาทตามแขนขา (somatic nerve)

เซลล์แกงเกลียน(ganglion cell) : เป็นเซลล์ประสาทชั้นนอก มีแอกซอนที่ยาว

แห่งข้อมูล https://line.me/R/ti/p/%40alertide-brain

เซลล์ประสาท หรือ นิวรอน

เซลล์ประสาท หรือ นิวรอน (อังกฤษ: neuron, /ˈnjʊərɒn/ nyewr-on, หรือ /ˈnʊərɒn/ newr-on) เป็นเซลล์เร้าได้ด้วยพลัง ของเซลล์อสุจิที่ทำหน้าที่ประมวลและส่งข้อมูลผ่านสัญญาณไฟฟ้าและเคมี โดยส่งผ่านจุดประสานประสาท (synapse) ซึ่งเป็นการเชื่อมต่อโดยเฉพาะกับเซลล์อื่น ๆ นิวรอนอาจเชื่อมกันเป็นโครงข่ายประสาท (neural network)



เซลล์ประสาท (nerve cell หรือ neuron)
เซลล์ประสาท (nerve cell หรือ neuron) คือ หน่วยย่อยทั้งโครงสร้างและการทำหน้าที่ของระบบประสาท ขนาดของเซลล์ประสาทโดยทั่วไป มีเส้นผ่านศูนย์กลางของตัวเซลล์แค่ 0.1 มิลลิเมตรโดยประมาณ แต่ใยประสาทมีความยาวได้หลายเมตร
โครงสร้างของเซลล์ประสาท
เซลล์ประสาท ประกอบด้วย ตัวเซลล์ และใยประสาท

•  ตัวเซลล์ (Cell body) ลักษณะคล้ายคลึงกับเซลล์ทั่วไป ภายในมีนิวเคลียส ไมโทคอนเดรีย ไรโบโซม เอนโดพลาสมิกเรติคูลัม กอลจิบอดี และออร์แกเนลล์อื่น ตัวเซลล์มีหน้าที่เกี่ยวกับการเจริญเติบโตและเมแทบอลิซึมของเซลล์ประสาท (เป็นแหล่งสร้างพลังงาน สังเคราะห์โปรตีนที่เป็นสารสื่อประสาท

•  ใยประสาท (Nerve fibre) แบ่งตามการทำหน้าที่ เป็นใยประสาท 2 ชนิด คือ เดนไดรต์และแอกซอน

  - เดนไดรต์ (dendrite) เป็นส่วนของเซลล์ประสาทที่ยื่นออกไป ส่วนใหญ่จะอยู่รอบๆตัวเซลล์ ทำหน้าที่รับกระแสประสาทเข้าสู่ตัวเซลล์ เซลล์ประสาทหนึ่งตัวจะมีเดนไดรต์ (dendrite) ได้หลายแขนง ลักษณะที่สำคัญของ (dendrite) คือ มี นิสเซส บอดี้ (Nissl body) ไมโตคอนเดรีย (mitochondria) และมี นิวโรฟิลาเม้นท์ (neurofilament) รวมกันเป็นมัด กระจายทั่วไป เดนไดรต์ (dendrite)ต่างจากแอกซอนคือ ส่วนมากมักไม่มีปลอกหุ้มและที่ปลายมีส่วนที่ยื่นออกไปเป็นต่อมเล็กๆ เรียกว่าหนาม (spine) ซึ่งเป็นที่สำหรับเชื่อมต่อกับกิ่งแอกซอนหรือเดนไดรต์ (dendrite) อื่นๆที่เรียกว่าบริเวณซิแนปส์ (synapse)
  - แอกซอน(axon) ส่วนของใยประสาทที่ทำหน้าที่นำกระแสประสาทออกจากบริเวณเดนไดรต์ ไปสู่เซลล์อื่นๆเซลล์ประสาทตัว
หนึ่งจะมีแอกซอนเพียงหนึ่งแอกซอนเท่านั้น โดยเป็นส่วนยื่นของเซลล์ที่ยาวทำหน้าที่นำกระแสประสาท ออกจากตัวเซลล์ ภายในแอกซอน (axon)ไม่มีนิสเซส บอดี้ (Nissl body) และจุดที่แอกซอน (axon) ออกจากตัวเซลล์ประสาทมีลักษณะนูนขึ้นเรียกว่า แอกซอน ฮิลล็อค (axon hillock) ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการเกิดกระแสประสาท และต่อเนื่องตลอดความยาวของแอกซอน ปลายแอกซอนจะมีแขนงแตกออกไปมีลักษณะเป็นตุ่มซึ่งจะซิแนปส์ (synapse) กับเซลล์ประสาทตัวอื่น

แหล่งข้อมูล https://line.me/R/ti/p/%40alertide-brain

เส้นประสาทไขสันหลัง

เส้นประสาทไขสันหลัง (spinal nerve)

              ไขสันหลัง แบ่งออกเป็นปล้องๆได้31ปล้อง ประกอบด้วย ระดับคอ(cervical) 8 ปล้อง ระดับอก(thoracic) 12 ปล้อง ระดับเอว (lumbar) 5 ปล้อง ระดับกระเบนเหน็บ (sacrum) 5 ปล้อง และระดับก้นกบ (coccyx) 1 ปล้อง ไขสันหลังแต่ละปล้องจะให้รากประสาท (nerve root) ออกมา 2 ข้าง ซ้าย-ขวา โดยแต่ละข้างจะประกอบด้วยรากประสามหน้า(ventral nerve root) และรากประสาทหลัง (dorsal nerve root) ยกเว้นระดับ C1 และระดับก้นกบ (coccygeal) ที่มีเฉพาะ ventral nerve rootเท่านั้น

รูปแสดงเส้นประสาทไขสันหลัง


           
Ventral nerve root ประกอบด้วยใยประสาทขาออก (efferent fibers) หรือ ใยประสาทสั่งการ(motor fibers)ที่มีตัวเซลล์ประสาทอยู่ใน anterior gray horn ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมกล้ามเนื้อและต่อมต่างๆสำหรับ dorsal nerve root ประกอบด้วยใยประสาทขาเข้า(afferent) หรือ ใยประสาทรับความรู้สึก(sensory fiber)ที่มีตัวเซลล์ชนิด pseudounipolar neuron ซึ่งเป็น sensory neuron อยู่ใน dorsal root ganglion ทำหน้าที่รับความรู้สึกจากปลายประสาท เช่น ที่ผิวหนังเข้าสู่ไขสันหลังเพื่อส่งต่อไปแปลผลที่สมองต่อไป

             Spinal nerve   หรือ เส้นประสาทไขสันหลัง ส่วนใหญ่เกิดจากการรวมกันของventral nerve root กับ dorsal nerve root ณ ตำแหน่งที่พ้นจากปมรากประสาทหลัง (dorsal root ganglion) ยกเว้นเส้นประสาทไขสันหลังคู่แรก (C1) และคู่สุดท้าย cocygeal nerve ที่ไม่มี dorsal root เส้นประสาทไขสันหลังจะมีจำนวนเท่ากับระดับของปล้องไขสันหลังคือ31 คู่
             Spinal nerve ส่วนใหญ่เป็นเส้นประสาทชนิดผสม(mixed nerve) คือประกอบด้วยใยเส้นประสาทสั่งการ ใยเส้นประสาทรับความรู้สึก และเส้นประสาทอัตโนมัติ ยกเว้นC1กับcocygeal nerve ที่เป็น pure motor nerve เส้นประสาทไขสันหลังจะผ่านออกจากช่องไขสันหลัง (spinal cord) ทาง intervertebral foramen โดยพบว่า spinal nerve ระดับ C1 จะผ่านออกจากเหนือต่อกระดูกสันหลังระดับคอชิ้นที่1 (C1:atlas) spinal nerve ระดับC2-C7จะผ่านออกจาก spinal canal ทาง intervertebral foramen ที่อยู่เหนือกว่ากระดูกสันหลังระดับเดียวกัน สำหรับ  spinal nerve    ระดับ C8 จะผ่านออกทาง intervertebral foramen ระดับต่ำกว้ากระดูกสันหลังระดับเดียวกันเสมอ

แหล่งข้อมูล https://line.me/R/ti/p/%40alertide-brain

ส่วนประกอบสมองของมนุษย์

ส่วนประกอบสมองของมนุษย์ สามารถแบ่งได้เป็น 3 ส่วนดังนี้



1. สมองส่วนหน้า (Forebrain) – มีขนาดใหญ่ที่สุด มีรอยหยักเป็นจำนวนมาก สามารถแบ่งออกได้อีกดังนี้
– ออลเฟกทอรีบัลบ์ (olfactory bulb) อยู่ด้านหน้าสุด ทำหน้าที่ – ดมกลิ่น (ปลา,กบ และสัตว์เลื้อยคลานสมองส่วนนี้จะมีขนาดใหญ่) ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมออลแฟกทอรีบัลบ์จะไม่เจริญ แต่จะดมกลิ่นได้ดีโดยอาศัยเยื่อบุในโพรงจมูก
– ซีรีบรัม (Cerebrum) มีขนาดใหญ่สุด มีรอยหยักเป็นจำนวนมาก ทำหน้าที่เกี่ยวกับการเรียนรู้ ความสามารถต่างๆ เป็นศูนย์การทำงานของกล้ามเนื้อ การพูด การมองเห็น การดมกลิ่น การชิมรส แบ่งเป็นสองซีก แต่ละซีกเรียกว่า Cerebral hemisphere และแต่ละซีกจะแบ่งได้เป็น 4 พูดังนี้
     – Frontal lobe ทำหน้าที่ควบคุมการเคลื่อนไหว การออกเสียง ความคิด ความจำ สติปัญญา บุคลิก ความรู้สึก พื้นอารมณ์
     – Temporal lobe ทำหน้าที่ควบคุมการได้ยิน การดมกลิ่น
     – Occipital lobe ทำหน้าที่ควบคุมการมองเห็น
     – Parietal lobe ทำหน้าที่ควมคุมความรู้สึกด้านการสัมผัส การพูด การรับรส
– ทาลามัส (Thalamus) อยู่เหนือไฮโปทาลามัส ทำหน้าที่เป็นสถานีถ่ายทอดกระแสประสาทเพื่อส่งไปจุดต่างๆในสมอง รับรู้และตอบสนองความรู้สึกเจ็บปวด ทำให้มีการสั่งการแสดงออกพฤติกรรมด้านความเจ็บปวด
– ไฮโปทาลามัส (Hypothalamus) ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางของระบบประสาทอัตโนมัติ และสร้างฮอร์โมนเพื่อควบคุมการผลิตฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองซึ่งจะทำการควบคุมสมดุลของปริมาณน้ำและสารละลายในเลือด และยังเกี่ยวกับการควบคุมอุณหภูมิร่างกาย อารมณ์ความรู้สึก วงจรการตื่นและการหลับ การหิว การอิ่ม และความรู้สึกทางเพศ

2. สมองส่วนกลาง (Midbrain) เป็นสมองที่ต่อจากสมองส่วนหน้า เป็นสถานีรับส่งประสาท ระหว่างสมองส่วนหน้ากับส่วนท้ายและส่วนหน้ากับนัยน์ตาทำหน้าที่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของลูกตาและม่านตาจะเจริญดีในสัตว์พวกปลา กบ ฯลฯ ในมนุษย์สมองส่วน obtic lobe นี้จะเจริญไปเป็น Corpora quadrigermia ทำหน้าที่เกี่ยวกับการได้ยิน

3. สมองส่วนท้าย (Hindbrain) ประกอบด้วย
– พอนส์ (Pons) เป็นส่วนของก้านสมอง ติดกับสมองส่วนล่าง ทำหน้าที่ควบคุมกล้ามเนื้อบริเวณใบหน้า และเป็นที่อยู่ของประสาทคู่ที่ 5,6,7,8
– เมดัลลา (Medulla) เป็นสมองส่วนท้ายสุด ต่อกับไขสันหลัง เป็นทางผ่านของกระแสประสาทระหว่างสมองกับไขสันหลัง เป็นศูนย์กลางการควบคุมการทำงานเหนืออำนาจจิตใจ เช่น ไอ จาม สะอึก หายใจ การเต้นของหัวใจ เป็นต้น
– ซีรีเบลลัม (Cerebellum) อยู่ใต้เซรีบรัม ควบคุมระบบกล้ามเนื้อให้สัมพันธ์กันและควบคุมการทรงตัว


แหล่งรวบรวมข้อมูล https://line.me/R/ti/p/%40alertide-brain

สมอง คืออะไร

สมอง คือ ที่อยู่ภายในกระโหลกศรีษะของเรานี้ มีลักษณะเป็นรูปครึ่งวงกลมคว่ำ ส่วนโค้งอยู่ทางด้านบน ส่วนแบนอยู่ทางด้านล่าง มีแกนตรงกลางยาวยื่นออกมาจากครึ่งทรงกลมนี้ทางด้านล่างเรียกว่า ก้านสมอง (brainstem) ก้านสมองนี้มีส่วนต่อยาวเลยท้ายทอยลงไป ส่วนที่ยาวมาจากท้ายทอยเมื่อพ้นกระโหลกศรีษะไปแล้วจะทอดตัวเป็นลำยาวภายใน ช่องตลอดแนวกระดูกสันหลังเรียกว่า ไขสันหลัง (spinal cord)

สมอง ส่วนที่สำคัญที่สุดที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการเรียนรู้ ความโง่ ความฉลาด ส่วนครึ่งวงกลมที่อยู่ภายในครึ่งบนของกระโหลกศรีษะ มีชื่อเรียกว่า ซีรีบรัม (cerebrum) หรือสมองใหญ่ เมื่อดูภายนอกส่วนครึ่งวงกลมนี้มีรอยหยัก เป็นร่องและลอนนูนทั่วไป มีร่องใหญ่มากที่ด้านบนตรงกลางกระหม่อม ซึ่งแบ่งครึ่งวงกลมนี้เป็นสองซีก จากหน้าไปหลัง ทำให้สมองแยกเป็น 2 ข้าง ทางด้านซ้ายและด้านขวา ซึ่งมีลักษณะคล้ายกัน สมองสองข้างนี้ไม่ขาดจากกัน





แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม https://line.me/R/ti/p/%40alertide-brain




ระบบประสาทพาราซิมพาเทติกควบคุมการทำงานส่วนต่างๆ

ระบบประสาทอัตโนมัติ ซิมพาเทติกและพาราซิมพาเทติก ระบบประสาทซิมพาเทติก (Sympathetic Nervous System-SNS) เป็นส่วนหนึ่งของระบบประสาทอัตโนมัติหร...